การเลิกบริษัทเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐบาลดังนี้
1.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
1.1 จดทะเบียนเลิกบริษัท
1.2 จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิก และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีรับรอง
1.3 จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี
2.กรมสรรพากร
2.1 แจ้งปิดบริษัท ภายใน15วัน
2.2 ยื่น ภงด. 50 ของงบที่เลิกบริษัท
2.3 คืนใบ ภพ20 ตัวจริง
3.สำนักงานประกันสังคม
3.1 แจ้งเลิกกิจการ
การจดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ขั้นตอนการเลิก
1. บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) บริษัทล้มละลาย
1.2 โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
(1) ผู้ถือหุ้นลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท
การเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท โดยดำเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม
1.3 เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ
(1) ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
(2) บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปีนับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี
(3) การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน
(4) จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน
2. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอและยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัท
3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 3 ครั้ง
4. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
ขั้นตอนตาม 2-4 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
ข้อมูลที่ต้องใช้
1. วันที่เลิกบริษัท
2. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และอายุของผู้ชำระบัญชี
3. อำนาจผู้ชำระบัญชี
4. ที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2)
3. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
4. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคน ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
5. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
6. สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)
ค่าธรรมเนียม
1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเลิก 400 บาท
2. หนังสือรับรอง ฉบับละ 120 บาท
3. รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
ขั้นตอนการชำระบัญชี
1. เมื่อเลิกบริษัทแล้ว
2. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
ขั้นตอนตาม 2-3 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ( ณ วันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจด
ทะเบียนเลิก)
5. ส่งงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้อง
6. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
7. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบการเงิน
ณ วันเลิก
8. ผู้ชำระบัญชีชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท (ถ้ามีทรัพย์สินก็ให้จำหน่าย มีลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ชำระหนี้สิน และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษัท)
9. เมื่อมีเงินคงเหลือก็ให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
10. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
11. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
12. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (แบบ ลช.5)
3. รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3)
4. งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (หรือ งบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้)
5. รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสารทั้งหลาย (แบบ ลช.6)
6. แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)
กรณีที่บริษัทไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิก ก็ให้ผู้ชำระบัญชียื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน
ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันเริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) และต้องทำรายงานยื่นที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไรบ้าง และแจ้งให้ทราบความเป็นไปของการชำระบัญชีโดยละเอียด
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
ค่าธรรมเนียม
1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี 400 บาท
2. หนังสือรับรอง ฉบับละ 120 บาท
3. รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท
การยื่นขอเลิกต่อกรมสรรพากร
1.แจ้งเลิกต่อกรมสรรพการ
2.ยื่นภงด50 ของงบที่เลิกกิจการ
3.แจ้งคืน ภพ.20ฉบับจริง
เอกสารที่ต้องเตรียมไว้
– สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านของผู้ถือหุ้นทุกคน
– เอกสารการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)พร้อมใบเสร็จประมาณ 2-3 ปี
– งบดุล งบกำไรขาดทุน ที่ยื่นสรรพากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประมาณ 2-3 ปี
– งบดุล งบกำไรขาดทุน ณ วันเลิก พร้อมใบเสร็จ ที่ยื่นสรรพากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-เอกสารการจดทะเบียนเลิก ภพ.09
– ภพ20 ตัวจริง
-เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ปิดบริษัท,ปิดห้างหุ้นส่วน,เลิกห้างหุ้นส่วน,จดทะเบียนเลิก,ขั้นตอนการปิดบริษัท,เลิกบริษัท,ค่าใช้จ่ายปิดบริษัท,ปิดบริษัทต้องทำอย่างไร,รับปิดบริษัท,เลิกบริษัท,รายงานการประชุมปิดบริษัท,ปิดบริษัทภาษาอังกฤษ,บัญชีปิดบริษัท,ปิดกิจการชั่วคราว,หยุดกิจการชั่วคราว,จดทะเบียนเลิกบริษัท,จดทะเบียนเลิกห้าง,จดทะเบียนเลิกvat, จดทะเบียนเลิกภาษี