Q
รูปแบบธุรกิจ SMEs มีกี่รูปแบบ ? ?
A

1 บุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไปที่มีชีวิตอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(มาตรา15)

2.คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ

3. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ

4 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนนิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกันโดยหุ้นส่วนทุกคนไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียน
เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

5.ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน หุ้นส่วนมีทั้งที่จำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความ รับผิดและต้องจดทะเบียนเป็น
นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

6.บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนลงทุนและต้องจดทะเบียนเป็น
นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

7.บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 15 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด)

8.กิจการร่วมค้า กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

9.นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

10.กิจการที่ดำเนินการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ เป็นกิจการของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

11.มูลนิธิหรือสมาคม เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลถ้าเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงการคลังประกาศให้เป็นองค์การสาธารณะกุศล

 

Q
แนวทางการปฏิบัติด้านภาษี  ?
A 1. การจัดทำบัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายของบุคคลธรรมดาที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม – เป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง – เป็นผู้ประกอบการที่มีเงินได้มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจำวัน ซึ่งเรียกว่า “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” – ประโยชน์ของการจัดทำ “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” จะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบรายได้ รายจ่าย และผลกำไร นอกจากนั้น ยังนำไปใช้ประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ด้วย

2. การหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี หรือเงินได้ประจำปีภาษี สามารถเลือกหัก ค่าใช้จ่ายเหมา ในอัตราร้อยละของเงินได้พึงประเมิน ตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับเงินได้มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงได้ หากค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่าค่าใช้จ่ายเหมา – อัตราการหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร จะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 11 สำหรับเงินได้มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 จะต้องหักค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น – การหักค่าใช้จ่ายตามจริง ให้นำมาตรา 65 ทวิ และ มาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาบังคับใช้โดยอนุโลม ** ศึกษาได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11

3. กิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ – กิจการที่เป็นขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ – การขายปลีก เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้สอย มิได้มีวัตถุประสงค์ นำไปขายต่อ เช่น ขายของชำ ขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น – การให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น ** ศึกษาได้จาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)

4. ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี หากขายสินค้าหรือให้บริการครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าหรือการให้บริการรายย่อยที่ประกอบกิจการดังนี้ – ขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีเดือนใดถึง 300,000 บาท หรือ – ขายสินค้าหรือให้บริการ ที่มีสถานประกอบการเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายลักษณะทำนองเดียวกันหรือ – การให้บริการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือลักษณะทำนองเดียวกัน ที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน **ผู้ประกอบการรวบรวมมูลค่าการขายหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ใน 1 วันทำการเพื่อจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเพียง 1 ฉบับ เพื่อใช้ประกอบการลงรายงานภาษีขาย **กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการร้องขอใบกำกับภาษี จะต้องออกใบกำกับภาษีให้ **ศึกษาได้จาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154)

5. ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท – เป็นสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับอนุมัติเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ** หากผู้ซื้อน้ำมันร้องขอใบกำกับภาษี จะต้องออกใบกำกับให้ ** ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54)

6. การออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้ารายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งใน 1 วัน – สามารถออกใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวใน 1 วันทำการได้ ** ศึกษาได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2542

7. ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ในแต่ละวันตั้งแต่ 100 ฉบับขึ้นไป – หากได้จัดทำรายงานสรุปการขายประจำวันไว้ ไม่ต้องลงรายงานภาษีขายเป็นรายใบกำกับภาษี จะลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวัน ในรายงานภาษีขายได้ และต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี ** ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ข้อ 7

8. การลงรายการรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ – ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ได้รับ หรือพึงได้รับ และให้ลงรายการภายใน 3 วัน – ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และรายการสินค้าหรือบริการ * ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ข้อ 7

9. ขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน (ภ.พ.30) – โดยปกติผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นแบบเสียภาษี (ภ.พ.30) เป็นรายสถานประกอบการ กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง – ผู้ประกอบการสามารถขออนุมัติยื่นแบบและชำระภาษีรวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ หรือสาขาใดสาขาหนึ่งได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ** การจัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ ไม่ว่าจะ ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีรวมกันหรือไม่

10. หลักฐานประกอบรายจ่าย กรณีผู้รับเงินไม่มีใบเสร็จรับเงินให้ – รายจ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายให้บุคคลธรรมดาทั่วไป เช่น ค่าแรงงาน โดยปกติผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ ทางออกก็คือให้ผู้จ่ายเงินทำเอกสารโดยระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้รับเงิน การจ่ายเงินเป็นค่าอะไร จำนวนเงินเท่าไร วัน เดือน ปี ที่รับเงิน พร้อมลงลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือจะมีสำเนาบัตรประชาชน ประกอบหลักฐานด้วยจะดียิ่งขึ้น
อ้างอิง : http://www.rd.go.th/publish/38049.0.html

 

 

Q
คำถามด้านการจดทะเบียน บริษัทและห้างหุ้นส่วน ?
A ท่านสามารถศึกษาได้เพิ่มเติมที่ …คลิ๊ก…

 

 

Q
คู่มือ การประกอบธุรกิจ:เริ่มต้นธุรกิจอย่างมีทิศทาง จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ 
Aดาวน์โหลดคู่มือได้ตามลิงค์ คลิ๊ก

 

 

Q
คู่มือ สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์?
A ดาวน์โหลดคู่มือได้ตามลิงค์ คลิ๊ก

 

 

Q
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคมได้ที่ไหน?
Aตรวจได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกสาขาหรือตามลิงค์ คลิ๊ก

 

 

Q
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงบริษัทมีอะไรบ้าง?
A

ประเภทของการจดทะเบียน

1.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
2.แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัทจำกัด
3.จดจัดตั้งบริษัทจำกัด
4.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทจำกัดภายในวันเดียว
5.แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการ
6.แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานของบริษัทจำกัด
6.1 ย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน
6.2 ย้ายข้ามจังหวัด
7. แก้ไขเพิ่มเติมดวงตราสำคัญของบริษัท
7.1 แก้ไขเพิ่มเติมดวงตรา
7.2 แก้ไขเพิ่มเติมดวงตราให้มีมากกว่า 1 ดวง
8. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อและดวงตราสำคัญ
9. แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุที่ประสงค์
10. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1. ข้อ 2. ข้อ 3. ที่ตั้งสำนักงานและดวงตรา
11. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5 (แปลงมูลค่าหุ้น)
12. แก้ไขเพิ่มเติมมติพิเศษให้เพิ่มทุน, เพิ่มทุนและหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5.
13. แก้ไขเพิ่มเติมลดทุนบริษัท
13.1 มติพิเศษให้ลดทุน
13.2 ลดทุนและหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5.
14. แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
15. จดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด
16. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม ตั้ง/เปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี/อำนาจของผู้ชำระบัญชี/ที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี
17. การชำระบัญชีและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัท
18. จดทะเบียนควบบริษัทจำกัด
18.1 มติพิเศษให้ควบบริษัท
18.2 ควบบริษัท

 

 

Q
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วนมีอะไรบ้าง?
A
ประเภทของการจดทะเบียน
1. จัดตั้งห้างหุ้นส่วน
2. จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วนจำกัด

2.1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์

2.2 แก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน

2.3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อ/ดวงตรา

2.4 แก้ไขเพิ่มเติมตราให้มีมากกว่า 1 ดวง

2.5 แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (ลดทุน-เพิ่มทุน/เปลี่ยนจำพวก/ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ)

2.6 แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (เข้า-ออก) และหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีผู้จัดการเดิมถึงแก่กรรม)

3. แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด
4. เลิกห้างหุ้นส่วน
5. แก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวผู้ชำระบัญชี

 

ปรึกษาเราซิคะ เราชำนาญด้านการเปิดบริษัท ด้วยงบประมาณที่ประหยัด Tel: 095 782 5165  Line : @Tregis